การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ขอบเขตพื้นที่ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการงานศึกษารูปแบบ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการงานยกระดับทางรถไฟในเขตเมืองสระบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร มีพื้นที่รวมตามแนวเส้นทางรถไฟเป็นระยะทาง 7 กิโลเมตร จะครอบคลุมพื้นที่ในระยะห่างจากศูนย์กลางทางรถไฟข้างละ 500 เมตรหรือมากกว่าหากพิจารณาแล้วเห็นว่าผลกระทบอาจจะไปถึงและในกรณีศึกษาแหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์จะครอบคลุมพื้นที่ข้างละ 1 กิโลเมตร ครอบคลุม 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกสว่าง ตำบลนาโฉง ตำบลปากเพรียว ตำบลตะกุด และตำบลตลิ่งชัน
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการได้ดำเนินการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อปัจจัยแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการทั้งในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ โดยเป็นไปตามแนวทางการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประเภทโครงการด้านคมนาคมทางบก ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พ.ศ. 2549 ดังนี้
- สภาพภูมิประเทศ
- ธรณีวิทยาและแผ่นดินไหว
- ทรัพยากรดิน
- อุตุนิยมวิทยาและคุณภาพอากาศ
- เสียง
- ความสั่นสะเทือน
- อุทกวิทยา/น้ำผิวดิน
- เศรษฐกิจ-สังคม
- การโยกย้ายและการเวนคืน
- การแบ่งแยกชุมชน
- การสาธารณสุข
- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- สุขาภิบาล
- สุนทรียภาพและการท่องเที่ยว
- แหล่งโบราณสถาน โบราณคดี และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
- นิเวศวิทยาบนบก
- ทรัพยากรป่าไม้
- ทรัพยากรสัตว์ป่า
- นิเวศวิทยาทางน้ำ
- การใช้ที่ดิน
- การคมนาคมขนส่ง
- สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
- การระบายน้ำและการควบคุมน้ำท่วม
- การเกษตรกรรม
ขั้นตอนและวิธีการศึกษา
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นรายละเอียด ครอบคลุมทั้งผลกระทบด้านบวกและผลกระทบด้านลบ พิจารณาทั้งในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะเปิดดำเนินการ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับใช้เป็นเงื่อนไขประกอบการออกแบบก่อสร้าง หรือผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างให้ผู้รับเหมาก่อสร้างนำไปปฏิบัติ สำหรับขั้นตอนการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม รายละเอียดแสดงในรูป