พื้นที่ศึกษาโครงการ
พื้นที่ศึกษาครอบคลุมประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียของโครงการในรัศมี 500 เมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนใน 5 ตำบล 1 อำเภอ 1 จังหวัด ได้แก่ ตำบลปากเพรียว ตำบลนาโฉง ตำบลโคกสว่าง ตำบลตะกุด และตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี รายละเอียดดังตารางและรูปด้านล่าง
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล |
---|---|---|
สระบุรี | เมืองสระบุรี | 1. ตำบลปากเพรียว |
2. ตำบลนาโฉง | ||
3. ตำบลโคกสว่าง | ||
4. ตำบลตะกุด | ||
5. ตำบลตลิ่งชัน |
พื้นที่ศึกษาโครงการ
แนวคิดเบื้องต้นของโครงการ
ที่ปรึกษาได้จัดทำแนวคิดเบื้องต้นของการแก้ไขปัญหาจราจร เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนในเขตชุมชนเมืองสระบุรีอย่างบูรณาการ และเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบเดินรถไฟในปัจจุบัน รวมถึงเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการรถไฟฯ ดังนี้
1. แนวเส้นทางของโครงการมีจุดเริ่มต้นที่ กม.110+215 บริเวณสะพานข้ามทางรถไฟถนนเลี่ยงเมืองสระบุรีฝั่งตะวันตก (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 362) โดยทางรถไฟจะเป็นคันทางอยู่ที่ระดับพื้นตามแนวเส้นทางรถไฟปัจจุบัน (รถไฟทางคู่) มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกลอดผ่านใต้โครงสร้างทางรถไฟยกระดับของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ห่างจากสะพานข้ามทางรถไฟถนนเลี่ยงเมืองฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร) จากนั้นแนวเส้นทางของโครงการจะเริ่มเบี่ยงไปอยู่ฝั่งขวาของแนวเส้นทางรถไฟปัจจุบัน และเริ่มต้นไต่ระดับเป็นโครงสร้างทางรถไฟยกระดับผ่านจุดตัดที่ 1 ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1) และยกระดับเข้าสู่บริเวณพื้นที่ย่านสถานีรถไฟสระบุรี โดยแนวเส้นทางของโครงการจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับอาคารสถานีเดิมและยกระดับข้ามผ่านจุดตัดที่ 2 ถนนพิชัยณรงค์สงคราม 1 และผ่านข้ามคลองเพรียว จนกระทั่งยกระดับข้ามผ่านจุดตัดที่ 3 ถนนทางเข้าศูนย์ราชการฯ จากนั้นแนวเส้นทางของโครงการจะลดระดับทางวิ่งลงสู่ระดับพื้น แล้วเปลี่ยนเป็นโครงสร้างทางรถไฟระดับพื้นพร้อมเบี่ยงแนวเส้นทางไปเชื่อมต่อกับแนวเส้นทางรถไฟทางคู่เพื่อเข้าสู่ชานชาลาสถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรีของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่ได้ออกแบบและก่อสร้างสถานีให้สามารถรองรับผู้โดยสารและเชื่อมโยงการใช้บริการร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนไว้แล้ว จากนั้นแนวเส้นทางของโครงการจะอยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่และไปสิ้นสุดที่ตำแหน่ง กม.117+323 บริเวณสะพานข้ามทางรถไฟถนนเลี่ยงเมืองสระบุรีด้านตะวันออก (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 362) รวมระยะทางของโครงการประมาณ 7 กิโลเมตร รายละเอียดดังรูปด้านล่าง
รูปแบบแนวคิดเบื้องต้นของโครงการในช่วงบริเวณจุดสิ้นสุดโครงการ
2. แบบแนวคิดเบื้องต้นของรูปตัดโครงสร้างทางรถไฟยกระดับช่วงผ่านย่านสถานีรถไฟสระบุรี (รถไฟทางคู่) จากแบบรายละเอียดของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน พบว่า แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงซ้อนทับกับสถานีรถไฟสระบุรีและโครงสร้างทางรถไฟยกระดับของโครงการซ้อนทับกับพื้นที่ของชานชาลาผู้โดยสาร ทางหลีกและชานบรรทุกทางทหาร (Military Platform) สำหรับขนย้ายยุทโธปกรณ์ทางทหาร รายละเอียดดังรูปด้านล่าง